โรงเรียนกวดวิชาธนพิสิษฐ์ Cadet Centre กวดวิชาเข้าเตรียมทหาร นายร้อยตำรวจหญิง

Login Form

ความหมาย "จักรดาว"

ข้อสอบ โครงการช้างเผือก นายเรืออากาศ ประจำปีการศึกษา 2558 สอบเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557

white58


ข้อสอบ วิชาคณิตศาสตร์

121. 126. 131. 136. 141.
122. 127. 132. 137. 142.
123. 128. 133. 138. 143.
124. 129. 134. 139. 144.
125. 130. 135. 140. 145.

ข้อสอบ วิชาวิทยาศาสตร์ ชีวะ

111 - 113.
114 - 117.
118 - 120.

ข้อสอบ วิชาภาษาอังกฤษ

1 - 12.
16 - 21.
22 - 35.

ข้อสอบ วิชาภาษาไทย

41 - 53.
54 - 60.
 

ข้อสอบ วิชาสังคม

61 - 80.
 
 

ทางสถาบันฯ ได้จัดโครงการ แนะแนวการศึกษาต่อ เพื่อให้น้องๆ ได้มีแนวทางในการเรียนต่อในระดับชั้นปลาย
โดย ทางสถาบันฯจะจัดทีมงานไปแนะแนวถึงโรงเรียนหรือสถานศึกษาต่างๆที่ต้องการความ รู้ ในการสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร จ่าอากาศ และช่างฝีมือทหาร
รายละเอียด
- ต้องติดต่อกับทางสถาบันฯ ล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และนัดแนะ เวลาที่ชัดเจน จำนวนนักเรียนที่เข้าฟังการแนะแนว
เพื่อทางสถาบันฯจะจัดทีมงาน ไปแนะแนวการศึกษาให้เหมาะสมกับเวลา
- ค่าใช้จ่าย ขึ้นอยู่กับระยะห่างจากโรงเรียน ถึงสถาบันฯ และค่าแนะแนวการศึกษา ในส่วนนี้จะแจ้งให้ทราบทีหลัง

ประมวลภาพ ชื่อโรงเรียนที่ไปแนะแนว
แนะแนวเตรียมทหาร นายร้อยตำรวจหญิง โรงเรียนสิงห์สมุทร สัตหีบ ชลบุรี
แนะแนวโรงเรียน
โรงเรียนสัตหีบ เขตฐานทัพ สัตหีบ ชลบุรี
แนะแนวโรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนสวนกุหลาบ วิทยาลัย ชลบุรี

แนะนำการสอบพลศึกษา

การสอบพลศึกษา เป็นการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย จำนวน 8 สถานี ผู้เข้ารับการสอบจะต้องทำการสอบให้ครบทุกสถานี ถ้าขาดสอบสถานีใดสถานีหนึ่งถือว่าสอบตกให้คัดออก สถานีที่สอบและวิธีการทดสอบกำหนดตามลำดับ ดังนี้  (การปฏิบัติในการสอบพลศึกษา

1. เตรียมชุดพลศึกษา กางเกงกีฬาขาสั้น รองเท้าผ้าใบ สำหรับการสอบ
2. เตรียมกางเกงว่ายน้ำ และอุปกรณ์ ห้ามใช้กางเกงชั้นในแทนกางเกงว่ายน้ำ
3. บัตรประจำตัวสอบ)

สถานีที่ 1 นั่งงอตัว

อุปกรณ์การสอบ มีกล่องไม้สูงจากพื้น 10 เซนติเมตร ติดไม้วัดยาว 60 เซนติเมตร ด้านบนของกล่องในแนวนอน

ท่าเตรียม:ให้ผู้สอบนั่งเหยียดขาตรง เท้าทั้งสองตั้งฉากกับพื้นและชิดกัน ฝ่าเท้าจรดแกนกลางของที่ตั้งเครื่องวัด

แขนทั้งสองข้างเหยียดตรงขนานกับพื้นฝ่ามือวางอยู่บนเครื่องวัด

นั่งงอตัว
การปฏิบัติ:  เมื่อพร้อมแล้ว ให้ก้มตัวเลื่อนฝ่ามือไปข้างหน้าตามแนวเครื่องวัด จนไม่สามารถก้มตัวเลื่อนฝ่ามือปลายนิ้วมือต่อไปได้ เข่าเหยียดตรงตลอดเวลา ห้ามโยกตัวหรืองอตัวแรง ๆ นั่งงอตัว

สถานีที่ 2 ยืนกระโดดไกล

ท่าเตรียม: ให้ผู้เข้าสอบยืนบนจุดที่กำหนดบนเครื่องวัด ปลายเท้าทั้งสองชิดเส้น

 ยืนกระโดดไกล

การปฏิบัติ: เมื่อพร้อมแล้ว ให้เริ่มเหวี่ยงแขนทั้งสองข้างไปด้านหลังพร้อมกับย่อตัวลง เมื่อได้จังหวะให้เหวี่ยงแขนทั้งสองข้างไปข้างหน้าอย่างแรง พร้อมกระโดดด้วยเท้าทั้งสองไปข้างหน้าให้ไกลที่สุด

 ยืนกระโดดไกล

สถานีที่ 3 ลุกนั่ง 30 วินาที
ท่าเตรียม :
ให้ผู้สอบนอนหงายบนเบาะ ฝ่ามือทั้งสองสอดประสานกันที่ท้ายทอย ศอกทั้งสองข้างสัมผัสกับพื้น เข่าทั้งสองงอตั้งเป็นมุมฉาก เท้าทั้งสองวางห่างกันพอประมาณ ผู้ช่วยคุกเข่าอยู่ปลายเท้าของผู้ทดสอบ โดยเอา มือทั้งสองกดข้อเท้าของผู้สอบไว้ให้ส้นเท้าติดพื้น

 ลุกนั่ง 30 วินาที

การปฏิบัติ: เมื่อกรรมการให้สัญญาณเสียงนกหวีด ผู้สอบลุกขึ้นสู่ท่านั่งพร้อมกับก้มศีรษะลงระหว่างเข่าทั้งสองให้แขนทั้งสองช่วงศอกด้านในสัมผัสกับเข่าด้านนอก แล้วกลับนอนลงสู่ท่าเดิมจนด้านหลังของหัวไหล่และศอกทั้งสองข้างสัมผัสกับพื้น ทำเช่นนี้ติดต่อกันภายใน 30 วินาที ขณะปฏิบัติฝ่ามือต้องประสานที่ท้ายทอยตลอดเวลาและขณะที่ลุกขึ้นสู่ท่านั่งห้ามเอียงตัวไปมา

 ลุกนั่ง 30 วินาที

สถานีที่ 4 วิ่งเก็บของ เป็นการวิ่งบนทางเรียบระยะทาง 10 เมตร หลังเส้นเริ่มต้นและเส้นปลายทางมีวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 50 เซนติเมตร ที่วงกลมปลายทางมีไม้ 2 ท่อน (ขนาด 5 x 0.5x 10 ซม.) วางตรงจุดกำหนดกลางวงกลมปลายทาง

ท่าเตรียม: ผู้สอบวางเท้าข้างหนึ่งข้างใดอยู่ภายในวงกลมเริ่มต้น

 วิ่งเก็บของ

การปฏิบัติ:เมื่อได้รับสัญญาณเสียงนกหวีดให้ผู้สอบวิ่งจากวงกลมเริ่มต้นไปยังวงกลมปลายทางหยิบไม้ท่อนที่ 1 วิ่งกลับมาวางไว้ในวงกลมเริ่มต้น ต้องวางไม้ให้อยู่ในวงกลม ห้ามโยนท่อนไม้เข้าวงกลม แล้ววิ่งกลับไปเก็บไม้ ท่อนที่ 2 วิ่งกลับมาผ่านวงกลมเริ่มต้น (โดยไม่ต้องวางท่อนไม้ท่อนที่ 2 ในวงกลมเริ่มต้น)

 วิ่งเก็บของ

สถานีที่ 5 วิ่งระยะทาง 50 เมตร  ผู้สอบต้องวิ่งในช่องวิ่งของตนเองตามที่กำหนดไว้จากเส้นเริ่มวิ่งจนถึงเส้นชัย

ท่าเตรียม:ผู้สอบเข้าประจำช่องทางวิ่ง โดยปลายเท้าอยู่หลังเส้นเริ่มวิ่ง

 วิ่งระยะทาง 50 เมตร
 การปฏิบัติ:เมื่อได้รับสัญญาณเสียงนกหวีด ให้ผู้สอบวิ่งในช่องวิ่งของตนเองตามที่กำหนดไว้จากเส้นเริ่มวิ่งจนถึงเส้นชัย  วิ่งระยะทาง 50 เมตร

 สถานีที่ 6 ดึงข้อ  ท่าเตรียม:ท่าเริ่ม ให้ผู้สอบจับราวเดี่ยวแบบคว่ำมือด้วยมือทั้ง 2 ข้าง พร้อมห้อยตัวลงจนแขน
ลำตัว และขาเหยียดตรง

 ดึงข้อ

การปฏิบัติ:เมื่อพร้อมแล้วให้ผู้สอบงอแขนดึงตัวขึ้นจนคางอยู่เหนือราว ทำติดต่อกันไปให้มากครั้งที่สุด ห้ามแกว่ง เท้าหรือเตะขา หรือหยุดพักระหว่างครั้งนานเกินกว่า 3 - 4 วินาที

 ดึงข้อ

สถานีที่ 7 วิ่งระยะ 1,000 เมตร
ท่าเตรียม:
ผู้สอบเข้าประจำจุดเริ่มวิ่งตามที่คณะกรรมการสอบกำหนด

 วิ่งระยะ 1,000 เมตร
การปฏิบัติ:เมื่อผู้สอบได้รับสัญญาณเสียงนกหวีดปล่อยตัว ให้เริ่มวิ่งจากจุดเริ่มต้นไปจนครบระยะทางที่กำหนด  วิ่ง 1,000 เมตร
สถานีที่ 8 ว่ายน้ำ 50 เมตร 
ท่าเตรียม:ให้ผู้สอบยืนบนแท่นปล่อยตัวขอบสระด้านเริ่มต้น (ตามภาพ)
 ว่ายน้ำ 50 เมตร

การปฏิบัติ:เมื่อได้รับสัญญาณเสียงนกหวีดปล่อยตัว ให้พุ่งตัวลงสระว่ายน้ำ แล้วว่ายโดยเร็วจนถึงขอบสระที่เป็นเส้นชัย

 ว่ายน้ำ 50 เมตร

 

เกณฑ์การให้คะแนน พลศึกษา ในส่วนของ เหล่าทหารบก

เกณฑ์ให้คะแนน ทหารบก
 คะแนน พลศึกษา ในส่วนของ เหล่าทหารบก
 เกณฑ์การให้คะแนน พลศึกษา ในส่วนของ เหล่าทหารบก

 

 

 

 

ทดสอบสายตาสั้น
แผ่นวัดสายตาสั้น

วิธีการใช้แผ่นวัดสายตา
1.มองแผ่นวัดสายตานี้นี้ในระยะ  ห่างจากตา 40 ซม.
2.อ่านตัวอักษรบรรทัด เส้นสีแดง
3.หากท่านอ่านบรรทัดเส้นสีแดงไม่ได้หรือเริ่มเบลอ  แสดงว่า สายตาเริมสั้นแล้วนะครับแต่ถ้าอ่านเส้นสีแดงได้ละก็ปกติครับ
บรรทัดล่างสุดสีแดง   สายตาปกติ (บรรทัดนี้ถ้ามองไม่เห็น ก็เตรียมตัว ระวังตกนะครับ )
บันทัดที่สอง จากล่าง   สายตาเริมสั้น 20
บันทัดที่สาม  จากล่าง  สายตาเริ่มสั้น 30
บันทัดที่สี่      จากล่าง  สายตาเริ่มสั้น 40

เรียงไปเรื่อยๆครับ  สั้นมากกว่า  50 ขึ้นไปเสี่ยงนะครับ ควรรีบใส่แว่น หรือแนะนำทำ PRK หรือ ใช้เลนส์กดตาก็ได้ครับ

แต่ถ้าบันทัดล่างสุด สีแดง มองเห็น..แสดงว่าปกติดี

ตาบอดสี

ตาบอดสี หรือที่เรียกว่า colour blindness เป็นอาการที่ตาของผู้ป่วยแปรผลแปรภาพสีผิดไปจากผู้อื่นที่เป็นตาปกติ ตาเป็นอวัยวะจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในสังคม หากเกิดความผิดปกติไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดที่มีผลกระทบต่อการมองเห็น บุคคลนั้นๆ ย่อมได้รับผลกระทบไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ภาวะตาบอดสีเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในสังคมมากพอสมควร

การมองเห็นสีของตามนุษย์

โดยปกติแล้วตาคนเราจะมีเซลรับแสงอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่มแรก เรียกว่า rods เป็นเซลรับแสงที่รับรู้ถึงความมืด หรือสว่าง ไม่สามารถแยกสีออกได้และจะมีความไวต่อการกระตุ้น แม้ในที่ที่มีแสงเพียงเล็กน้อย เช่น เวลากลางคืน เซลกลุ่มที่สองเป็นเซลทีทำหน้าที่มองเห็นสีต่างๆ เรียกว่า cones โดยจะแยกได้เป็นเซลอีก 3 ชนิด ตามระดับคลื่นแสงหรือสีที่กระตุ้น คือ เซลรับแสงสีแดง เซลรับแสงสีน้ำเงิน และเซลรับแสงสีเขียว

 

สำหรับแสงสีอื่นๆ เกิดจากการกระตุ้นเซลดังกล่าวนี้มากกว่าหนึ่งชนิด แล้วให้สมองเราแปลภาพออกมาเป็นสีที่ต้องการ เช่น สีม่วง เกิดจากแสงที่กระตุ้นทั้งเซลรับแสงสีแดง และเซลรับแสงสีน้ำเงิน ในระดับที่พอๆ กัน การเกิดสีต่าง ๆ ที่มองเห็นเหล่านี้ ก็เช่นเดียวกับหลอดภาพของเครื่องรับโทรทัศน์นั่นเอง ซึ่งเซลกลุ่มที่สองนี้จะทำงานได้ดีต้องมีแสงสว่างเพียงพอ


ดังนั้นในที่สลัวๆ เราจึงไม่สามารถแยกสีของวัตถุได้แต่ยังพอบอกรูปร่างได้ เนื่องจากมีการทำงานของเซลในกลุ่มแรกอยู่ ต่อเมื่อเพิ่มแสงสว่างขึ้น เราจึงมองเห็นสีต่างๆ ขึ้นมา

ปัจจัยทางพันธุกรรม
สาเหตุของตาบอดสีที่เป็นมาแต่กำเนิด มีเรื่องของกรรมพันธุ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยโครโมโซม X ทำให้เพศชายถ้ามีหน่วยพันธุกรรม X ที่ทำให้เกิดตาบอดสี ก็จะแสดงอาการของตาบอดสีออกมา ในขณะที่เพศหญิงถ้าหน่วย X นี้ผิดปกติเพียงหนึ่งหน่วย ก็ยังสามารถมองเห็นได้ปกติเห็นปกติได้ ถ้าหน่วย X อีกตัวหนึ่งไม่ทำให้เกิดตาบอดสี

 

ความผิดปกติของเม็ดสีและเซลล์รับแสงสีเขียวหรือแดง ถูกควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซม x และมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ x-linked recessive จากแม่ไปสู่บุตรชาย เพราะเหตุนี้ตาบอดสีส่วนใหญ่มักจะเกิดกับเด็กผู้ชาย ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากมารดา ในเพศหญิงพบน้อยกว่าเพศชายประมาณ 16 เท่า หรือคืดเป็นประมาณร้อยละ 0.4 ของประชากร ขณะที่ตาบอดสีทั้งหมด จะพบได้ประมาณร้อยละ 10 ของประชากร และเป็นการมองเห็นสีเขียวบกพร่องเสียประมาณร้อยละ 5 ของประชากร

กลุ่มที่มีความผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด ตาทั้ง 2 ข้างจะมีอาการมองเห็นสีผิดปกติเหมือนกัน คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ผู้ที่สามารถเห็นสีได้ปกติ จะต้องมีเซลล์รับแสงสีที่จอประสาทตาครบทั้ง 3 สี คือ แดง เขียว และน้ำเงิน และมีปริมาณเม็ดสีในเซลล์ที่ปกติ รวมทั้งระบบประสาทตาและการแปลผลที่เป็นปกติด้วย


ส่วนความผิดปกติของเม็ดสี และเซลล์รับแสงสีน้ำเงินนั้น ถูกควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซม 7 จึงมีการถ่ายทอดแบบ autosomal dominant ซึ่งจะพบผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้น้อย


ตาบอดสีอีกกลุ่มหนึ่ง คือ ตาบอดสีที่เป็นภายหลัง มักเกิดจากโรคทางจอประสาทตาหรือโรคของเส้นประสาทตาอักเสบ มักจะเสียสีแดงมากกว่าสีอื่น และอาจเสียเพียงเล็กน้อย คือดูสีที่ควรจะเป็นนั้นดูมืดกว่าปกติ หรืออาจจะแยกสีนั้นไม่ได้เลยก็ได้



อาการ
ตาบอดสีมีหลายชนิด ชนิดที่พบบ่อยที่สุด เรียกว่า red/green colour blindness โดยจะแยกสีแดงและสีเขียวค่อนข้างลำบาก โดยเฉพาะเวลาที่แสงไม่สว่างนัก ส่วนน้อยลงมาของคนที่มีตาบอดสี คือพวกที่ไม่สามารถแยกสีน้ำเงินกับสีเหลือง จะมีบ้างเหมือนกันที่เป็นโรคตาบอดสีทุกสีเลย แต่เป็นส่วนน้อยมาก คนที่บอดสี แดง-เขียวมักจะบอดสี น้ำเงิน-เหลืองด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นตาบอดสีชนิดใด ล้วนจะมีสายตาหรือการมองเห็น (vision) ที่เป็นปกติ เพียงแต่ความสามารถในการแยกสีไม่ปกติเท่านั้นเอง

กลุ่มที่มีความผิดปกติที่เกิดขึ้นมาภายหลัง มักเกิดจากการถูกทำลายของจอประสาทตา เส้นประสาทตา หรือส่วนรับรู้ในสมอง จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การอักเสบ ภาวะขาดเลือด อุบัติเหตุ เนื้องอก การเสื่อมลงของจอประสาทตา หรือผลข้างเคียงจากยาหรือสารเคมี


ผู้ป่วยมักจะมีอาการเรียกชื่อสีหรือเห็นสีผิดไปจากเดิม โดยมากพบความผิดปกติของการมองสีน้ำเงินเหลืองมากกว่าแดงเขียว ความผิดปกติของตาทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน อาจเป็นตาเดียวหรือทั้ง 2 ตา มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นหรือลดลงได้ รวมทั้งมีความผิดปกติของสายตาด้านอื่น ๆ เช่น การมองเห็นและลานสายตาลดลงได้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค

การวินิจฉัยโรค
สำหรับการตรวจและวินิจฉัย จักษุแพทย์จะทำการซักประวัติอาการผู้ป่วย ร่วมกับการตรวจการรับรู้ของสี และตรวจตาโดยละเอียด เพื่อหาสาเหตุแผนการรักษา การตรวจอาจใช้เครื่องมือช่วยการตรวจหลายอย่าง เช่น ให้อ่านสมุดภาพ Ishihara, ให้ทดสอบเรียงเม็ดสีตามแบบที่กำหนดไว้

การทดสอบสมุดภาพ
โดยการให้อ่านกระดาษ ซึ่งอาจจะเป็นตัวเลขหรือหนังสือ คนตาปกติจะบอกเลขได้ แบบทดสอบดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า Ishihara test ส่วนใหญ่พื้นหลังจะเป็นจุดสีเขียว ส่วนเส้นสร้างจากจุดสีแดงหรือส้ม ปัจจุบันมีแบบทดสอบที่ดัดแปลงไปแล้วบ้าง แต่ก็ยังคงลักษณะเดิมไว้ทุกประการ


การรักษา
ในรายที่เป็นไม่รุนแรง ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแต่อย่างใด ส่วนในรายที่เป็นรุนแรง ผู้ปกครองอาจจะสังเกตพบตอนเป็นเด็ก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาเฉพาะ ถ้าเป็นแล้ว จะเป็นตลอดชีวิต โดยเฉพาะแบบที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด ยังไม่พบวิธีรักษาที่ได้ผล

ส่วนประเภทที่เกิดจากโรคต่างๆ ที่มีผลต่อจอประสาทและเส้นประสาทตา เมื่อเกิดอาการมองเห็นสีผิดปกติไปให้รีบมารับการตรวจรักษา อาจป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติถาวรได้


คำแนะนำบางประการ

  1. ในผู้ป่วยที่มีภาวะตาบอดสีแต่กำเนิด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำถึงโอกาสการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และโอกาสหลีกเลี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะตาบอดสีในหมู่ญาติ
  2. ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีภายหลัง ควรรับการตรวจวินิจฉัยถึงสาเหตุ เพื่อแพทย์จะได้วางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
  3. การที่คนใดคนหนึ่งเกิดตาบอดสีขึ้น คนๆ นี้ก็ยังสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติเหมือนคนปกติทั่วๆ ไปได้ เพียงแต่การแปรผลผิดไปจากความจริงเท่านั้น ถ้าตาบอดสีไม่มากนักสามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้แว่นตา ทั้งนี้ควรปรึกษาจักษุแพทย์ ซึ่งจะตรวจเช็คสายตาและให้คำแนะนำในการปรับตัว ตลอดจนแนวทางในการรักษาต่อไป
  4. บางครั้งคนตาบอดสี อาจถูกกีดกันจากสถาบัน หรืออาชีพบางประเภท ซึ่งจริงๆ แล้ว คนที่ตาบอดสีเพียงแต่เห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง ไม่ใช่มองไม่เห็นสีเลย
  5. คนที่ตาบอดสีส่วนใหญ่เรียกสีถูก บอกความแตกต่างของไฟจราจรได้ และก็ทำงานส่วนใหญ่ได้เหมือนคนปกติ เว้นเสียแต่จะมีสีในบางแถบสีที่ทำให้เขาสับสน
  6. ในแบบทดสอบอาจจะมีการออกแบบสีในช่วงของแถบสีที่ทำให้คนตาบอดสีดูสับสน ซึ่งโดยโดยปกติในชีวิตประจำวันคนตาบอดสีจะพบสีดังกล่าวน้อยมาก
  7. อาชีพที่คนตาบอดสีไม่ควรทำ ได้แก่ นักเคมีที่ต้องทำงานกับสี จิตรกร อาชีพที่ต้องมีการใช้สีเป็นตัวแสดงถึงสิ่งต่าง ๆ เช่น ในอุปกรณ์อิเลคโทรนิค ห้องนักบิน เป็นต้น
  8. พบว่าคนตาบอดสีมีความสามารถในการแยกสีเฉดเดียวกันที่มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยได้ดีกว่าคนปกติ เช่น คนตาบอดสีเขียวจะแยกสีที่คล้ายกัน เช่น เขียวอ่อน เขียวอมเหลือง

ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

การทดสอบตาบอดสีมีหลายวิธี วิธีที่ได้รับความนิยมสูงสุดเห็นจะเป็นวิธีของ Prof. Dr. Shinobu Ishihara จาก Tokyo คือ แบบทดสอบที่มีวงกลมวงใหญ่และมีจุดสีเล็กๆ ข้างในจะซ่อนตัวเลข และเส้น เอาไว้ และให้ผู้ทดสอบอ่าน หากสามารถอ่าน และลากเส้นได้ถูกต้องทั้งหมด ถือว่าตาปกติ ลองทดสอบกันดูนะครับ

แผ่นที่  แผ่นภาพ ผลการมองเห็น
สายตาปกติ ตาบอดสี
1 ตรวจตาบอดสี อ่านได้เลข 12 อ่านได้เลข 12
2 ตรวจตาบอดสี อ่านได้เลข 8
- ตาบอดสีน้ำเงินอ่านได้เลข 3
- ตาบอดทุกสีไม่สามารถอ่านได้
3 แบบทดสอบตาบอดสี อ่านได้เลข 29 - ตาบอดสีแดง เขียวอ่านได้เลข 70
- ตาบอดทุกสีไม่สามารถอ่านได้
4 แบบทดสอบตาบอดสี อ่านได้เลข 5 - ตาบอดสีแดง เขียวอ่านได้เลข 2
- ตาบอดทุกสีไม่สามารถอ่านได้
5 แบบทดสอบตาบอดสี อ่านได้เลข 3 - ตาบอดสีแดง เขียวอ่านได้เลข 5
- ตาบอดทุกสีไม่สามารถอ่านได้
6  ตรวจตาบอดสี อ่านได้เลข 15 - ตาบอดสีแดง เขียวอ่านได้เลข 5
- ตาบอดทุกสีไม่สามารถอ่านได้
7  ตรวจตาบอดสี อ่านได้เลข 74 - ตาบอดสีแดง เขียวอ่านได้เลข 21
- ตาบอดทุกสีไม่สามารถอ่านได้
8  ตรวจตาบอดสี  อ่านได้เลข 6 - ตาบอดทุกสีไม่สามารถอ่านได้
9  ตรวจตาบอดสี  อ่านได้เลข 45  - ตาบอดทุกสีไม่สามารถอ่านได้
10  ตรวจตาบอดสี  อ่านได้เลข 7  - ตาบอดทุกสีไม่สามารถอ่านได้
11  ตรวจตาบอดสี  อ่านได้เลข 16  - ตาบอดทุกสีไม่สามารถอ่านได้
12  ตรวจตาบอดสี  อ่านได้เลข 73  - ตาบอดทุกสีไม่สามารถอ่านได้
13  ตรวจตาบอดสี  ลากเส้นตามเส้นสีได้ ลากเส้นได้ไม่สมบูรณ์
 14 ตรวจตาบอดสี  ลากเส้นได้ไม่สมบูรณ์ - ตาบอดสี เขียว/แดง ลากเส้นได้จาก x ไป x
- ตาบอดทุกสีไม่สามารถลากเส้นได้
15 ตรวจตาบอดสี ลากเส้นตามเส้นสีได้ ไม่สามารถลากเส้นตามได้
16

ตรวจตาบอดสี

ลากเส้นตามเส้นสีได้ ไม่สามารถลากเส้นตามได้
17 ตรวจตาบอดสี ลากเส้นตามเส้นสีได้ ไม่สามารถลากเส้นตามได้

ความหมายของเครื่องหมายจักรดาว

จักรดาว นอกจากจะเป็นเครื่องหมายชิ้นแรกในชีวิตนักเรียนเตรียมทหารแล้วยังเป็นตราสัญลักษณ์ของโรงเรียนเตรียมทหารซึ่งแฝงไว้ด้วยความหมายอันลึกซึ้งของทหาร - ตำรวจทั้ง 4 เหล่าทัพ
มีความหมายดังนี้
คบเพลิง                  หมายถึง                การศึกษาและความรุ่งโรจน์
ช่อชัยพฤกษ์           หมายถึง                 เครื่องหมายชั้นยศนายพลของกองทัพบกและตำรวจ
ดาวห้าแฉก            หมายถึง                เครื่องหมายชั้นยศนายพลของกองทัพอากาศ
จักรเวียนซ้าย         หมายถึง                เครื่องหมายชั้นยศนายพลของกองทัพเรือ